ถึงตอนนี้เรารู้จัก

ปลาหมอคางดำ กันแค่ไหน ?

ปลาหมอคางดำ
ชื่อทั่วไป Blackchin Tilapia (ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarotherodon melanotheron Ruppell, 1852) จัดอยู่ในกลุ่มปลานิล มีถิ่นกำหนดในประเทศแอฟริกาตะวันตก มีการนำเข้าในหลายประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย ซึ่งพบมีรายงานการเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์

สำหรับประเทศไทยพบหลักฐานรายงานของส่วนตรวจการค้าสัตว์น้ำ สำนักบริหารจัดการด้านการประมง จากประเทศกานา ในช่วงปี 2549

ต่อมาปี 2553 บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งของไทยได้นำเข้ามาอีกครั้งจำนวน 2,000 ตัว (หมายเหตุ เอกสารคำขอนำเข้าจำนวน 5,000 ตัว เพื่อปรับปรุงพันธุ์โดยขอใช้สิทธิ์จากการได้รับอนุญาตให้นำเข้าตั้งแต่ปี 2551 แต่ไม่ยังไม่ได้นำเข้า)​ เพื่อทำการทดลองเพาะเลี้ยงในฟาร์มทดลองในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ทั้งนี้ คณะกรรมการระดับสถาบันว่าด้วยความปลอดภัยและความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง (Institutional Biosafety Committee: IBC) ยังกำหนดให้ (1)กรมประมงเก็บตัวอย่างครีบโดยไม่ทำให้ปลาตายอย่างน้อย 3 ตัว (2) เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้ผู้ขอนำเข้าแจ้งผลการทดลองแก่กรมประมง (3)ควรมีการป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองหลุดรอดไปในธรรมชาติ (4) ในกรณีที่การทดลองได้ผลไม่ดี ผู้ขอนำเข้าไม่ประสงค์จะใช้ปลาต่อไป ขอให้ทำลายและเก็บซากไว้ให้กรมประมงตรวจสอบ

Vertebrate, Organism, Fish, Fluid

วันที่ 2 ธ.ค. 2560 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีมติให้ ปลาหมอสีคางดำ (ปลาหมอคางดำ) ขึ้นบัญชีเป็น1 ใน 12 ชนิดพันธุ์สัตว์ต่างถิ่นที่มีความสำคัญลำดับสูงสุดเช่นเดียวกับ ไส้เดือนฝอยรากปม แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล หอยทากยักษ์แอฟริกา หอยเชอรี่ หอยเชอรี่ยักษ์ ปลากดเกราะ หรือปลาซัคเกอร์ในสกุล Hypostomus,Liposarcus และ Pterygoplichthys ปลาหมอมายัน เต่าแก้มแดง และหนูท่อ เพื่อให้เกิดการจัดทำแนวทางการป้องกันควบคุม กำจัด จัดทำทะเบียนจัดลำดับความสำคัญ รวมถึงรวบรวม วิเคราะห์เส้นทางการระบาด เผยแพร่ความรู้เจ้าหน้าที่ในการควบคุม โดยเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางลดผลกระทบต่อระบบนิเวศต่อไป

ต่อมา ปี 2561 กรมประมงได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 9 มกราคม 2561 เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ.2561 และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 ซึ่งประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2561 เป็นต้นมา

ปี 2555 พบการรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรกบริเวณบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรพื้นที่ต. แพรกหนามแดง ต.ยี่สาร อ.อัมพวา และต.คลองโคลน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

ในช่วงไม่กี่ปีผ่านมาปรากฏรายงานการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทยที่คลองยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม และต่อมาพบพื้นที่แพร่ระบาดอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น คลองยี่สารเก่า ฟาร์มเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงคราม

รวมถึงพื้นที่ที่ไกลออกไป เช่น แม่น้ำประแสร์ จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดชุมพร ส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำพื้นเมืองและระบบนิเวศแหล่งน้ำ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรที่เลี้ยงแบบกึ่งพัฒนาจากรูปแบบการนำน้ำเข้าสู่บ่อโดยไม่มีการกรองน้ำ (กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, 2563)

Font
แถบดำมีลักษณะและรูปทรงไม่แน่นอนบริเวณหัวส่วนล่าง คาง หลังกระพุ้งแก้ม ด้านหลังแผ่นปิดเหงือก ซึ่งจะแตกต่างกันไปในปลาแต่ละตัว ขนาดเล็กไม่พบจุดสีดำ
ก้านครีบหลังแบบแข็งจำนวน 15 - 17 ก้าน
ก้านครีบอ่อนจำนวน 10 – 12 ก้าน
สีของลำตัวมีการแปรผัน อาจเป็นสีเงิน น้ำเงินอ่อนหรือสีเหลือง สีดำขึ้นกับสีน้ำ

การแพร่กระจายในประเทศไทย

  • พื้นที่ภาคกลาง กรมประมง พบการแพร่กระจายบริเวณจ. สมุทรสาคร เพชรบุรี และล่าสุดจ. สมุทรสาคร
  • พื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก พบแพร่กระจายบริเวณจ.ระยอง แหล่งน้ำในอำเภอแถลงทั้งหมด อ. เมืองพบบริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลบ้านเพ ส่วนจ. จันทบุรี พบที่คลองพังราด อ.นายายอาม และล่าสุดพบที่อ่าวคุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่
  • พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ พบแพร่กระจายบริเวณกุยบุรีแล.อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.สวรี อ.ละแม อ.เมือง จ.ชุมพร และอ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ล่าสุดพบรายงานในจ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา
Slope, Map
การวิเคราะห์การแพร่กระจายจากการศึกษาด้านพันธุกรรม
ผลการศึกษาวิจัยของกรมประมงชี้ว่า ประชากรปลาหมอคางดำที่แพร่กระจการแพร่ระบาดในไทยมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ของปลาหมอคางดำในไทย การแพร่ระบาดคาดว่าจะเกิดจากความสามารถในการแข่งขันและปรับตัว
การวิเคราะห์การแพร่กระจายจากการศึกษาด้านพันธุกรรม
การแพร่กระจายในพื้นที่ภาคกลางมาจากเชื่อมต่อของและภาคใต้แหล่งน้ำ ส่วนการแพร่ไปจังหวัดระยองไปจันทบุรี น่าจะมาจากการปรับตัวอยู่อาศัยในน้ำทะเลของปลาหมอสีคางดำ
การวิเคราะห์การแพร่กระจายจากการศึกษาด้านพันธุกรรม
ผลการศึกษาวิจัยของกรมประมงชี้ว่า ประชากรปลาหมอคางดำที่แพร่กระจการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในไทย คาดว่าจะเกิดจากความสามารถในการแข่งขันและปรับตัว การแพร่กระจายในพื้นที่ภาคกลางมาจากเชื่อมต่อของและภาคใต้แหล่งน้ำ ส่วนการแพร่ไปจังหวัดระยองไปจันทบุรี น่าจะมาจากการปรับตัวอยู่อาศัยในน้ำทะเลของปลาหมอสีคางดำ ส่วนการแพร่ระบาดในพื้นที่ห่างออกไป เช่น ระยอง ประจวบคีรีขันธ์และชุมพร คาดว่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ มากกว่าการแพร่กระจายตามธรรมชาติ

ย้อนรอยการระบาดในประเทศไทย

Organism, Font

แนวทางการที่ภาครัฐโดยกรมประมง

ให้คำแนะนำและดำเนินการอยู่ในขณะนี้

Product, Jaw, Organism, Font
Product, Organism, Font

ทำไมปลาหมอคางดำถึงเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานที่มีความได้เปรียบสัตว์น้ำที่มีอยู่เดิมในที่นั้น ๆ

  • ปลาหมอคางดำสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เร็ว รายงานกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด (2562) พบว่า ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ในเพศเมียมีขนาด 6.2 เซนติเมตร
  • แม่ปลามีไข่เฉลี่ย 496 ฟอง รวมถึงมีพฤติกรรมการดูแลตัวอ่อน โดยพ่อปลาจะอมไข่ปลาที่ได้รับการผสมไว้ในปาก ประมาณ 4-6 วัน ระยะเวลาฟักไข่เฉลี่ย 14 วัน (6-22 วัน)
  • สามารถผสมพันธุ์ทุก ๆ 22 วัน และวางไข่ได้ตลอดทั้งปี
  • สามารถกินอาหารได้ทุกรูปแบบพืช แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ กุ้ง ปู หอย ปลาและไข่ปลา

อย่างไรก็ตาม ปลาหมอคางดำ ยังพบได้ในบ่อน้ำสัตว์เลี้ยง และแหล่งน้ำธรรมชาติ

ในช่วงเวลา 1 ปี พ่อแม่ปลา 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์ได้ปลาลูกหลานกว่า 6 ล้านตัว ภายในรุ่นที่ 3

แล้วตอนนี้ปลาหมอคางดำอยู่ตรงไหน ?
Organism, Map, Line, Fish

จากการร่วมสำรวจการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ของ C-Site ไทยพีบีเอส ร่วมกับประชาชนทั่วไประหว่างเดือน ส.ค. 66 - มิ.ย. 67 พบการรายงานกว่า 83 จุด ในพื้นภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้

พบเยอะมากในคลองสาขาพื้นที่ป่าชายเลน ปากแม่น้ำ ของสถานตากอากาศบางปู จำนวนปลาวัยเด็กเยอะมาก แทบไม่พบปลาอื่น

พบครั้งแรกเมื่อราวๆ 6 ปีก่อน ตอนนี้ระบาดหนักมาก ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำชายฝั่งในคลองเชื่อมทะเล หายไปมาก มีปลาคางดำเข้ามาแทน

Map, World, Ecoregion, Black
Automotive tire, Water, Blue, Leisure
"ปกติล้อมอวนเพื่อจะจับปลากระบอกซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่นที่เคยจับมาตลอด แต่ช่วงหลัง ๆ ปีที่ผ่านมา จับปลากระบอกได้น้อยลงแต่สิ่งที่ได้กลับมาแทนคือปลาหมอคางดำที่นับวันก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว"
นิค ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวมหาชัย จ.สมุทรสาคร

ร่วมสำรวจและอ่านการรายงานการพบและการจัดการปลาหมอคางดำ

ดูเพิ่มเติม

คางดำ ไปต่อ หรือ พอแค่นี้ ?

ช่วงปีที่ผ่านมา สภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาครได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรเกี่ยวกับการระบาดของปลาหมอคางดำที่กระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรการผู้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง วันที่ 19 สิงหาคม 2566 จึงลงพื้นที่สำรวจ เนื่องจากปลาหมอสีคางดำ (ชื่อตามเอกสารราชการของกรมประมง กันทั่วไปว่าปลาหมอคางดำ) เข้าไปในบ่อเลี้ยงและแย่งกินอาหาร ทำให้ไม่ได้รับผลผลิตหรือได้ผลผลิตน้อยลง และจะมีผลกระทบต่อสัตว์ น้ำพื้นถิ่นที่จะมีจำนวนลดลงและหายไปในอนาคต อ่านเพิ่มเติม https://thecitizen.plus/node/84748
24 กันยายน วันแม่น้ำสากล ในวันนี้นักอนุรักษ์ทั่วโลกจะมีกิจกรรมที่พิเศษคือการสำรวจแม่น้ำสายต่าง ๆ และในประเทศไทยเอง กลุ่มชุมชนบางสะแกและภาคีก็ได้ทำการสำรวจคลองบางสะแกใน ต.บางสะแก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว อ่านเพิ่มเติม https://thecitizen.plus/node/87511
ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในปัจจุบัน นำมาสู่การเปิดเวทีสนทนา “ฟังเสียงประเทศไทย: ภัยคุกคามปลาหมอคางดำ ที่วัดศรีสุทธาราม (วัดกำพร้า) จ.สมุทรสาคร เพื่อพูดคุยกันถึงสาเหตุต้นตอของปัญหา และร่วมกันหาทางออกกับตัวแทนประมงพื้นบ้าน กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากกรมประมง นักวิชาการ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร และสภาเกษตรจากหลายจังหวัด กว่า 50 คน อ่านต่อ https://thecitizen.plus/node/92755
กิจกรรมนี้ เพื่อเชิญชวนพลเมืองประชาชนทั่วไปมาสำรวจศึกษา ทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ เพื่อสร้างฐานข้อมูลเปิด จับตาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เกิดขึ้น รวมถึงเฝ้าระวังสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ที่จะเข้ามารุกรานสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นอย่างปลาหมอคางดำ ที่กำลังแพร่กระจายในหลายพื้นที่ในตอนนี้ อ่านต่อ https://thecitizen.plus/node/87356
ปัญหาปลาหมอคางดำมีมากว่า 10 ปี และหนักขึ้นทุกวัน การจัดการก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรกันดี โครงการห้องทดลองปัญญารวมหมู่ จึงจัดกิจกรรม Policy Forum ปลาหมอคางดำ เพื่อหาแนวทางการจัดการสัตว์ต่างถิ่นรุกราน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 โดยเชิญคนที่ทำงานพื้นที่และผู้เชี่ยวชาญมาระดมความคิดเห็นร่วมกัน อ่านต่อ https://thecitizen.plus/node/97240
นณณ์ ผาณิตวงศ์ ผู้หลงใหลในสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและปลาน้ำจืดไทย ยังเป็นผู้ก่อตั้ง siamensis.org กลุ่มสาธารณะที่แชร์ความรู้ ธรรมชาติวิทยา ภาพถ่ายข้อมูลของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ของคนสนที่ใจสิ่งแวดล้อมมารวมตัวกัน มาขยายความเข้าในเรื่องสัตว์ต่างถิ่นหรืออีกชื่อ เอเลี่ยนสปีชีส์ ที่แนวโน้มในอนาคตจะมีเพิ่มขึ้นมาก อ่านต่อ https://thecitizen.plus/node/87088
ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ติดตามประเด็นปลาหมอคางดำจัดวงประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายประชาชน และยื่นข้อเสนอ 16 แนวทางที่หวังจะนำไปยื่นต่อกรมประมง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในแก้ปัญหาจะนำไปเอาปรับใช้ในแต่ละพื้นที่ “แม้ว่ามีการยืนยันว่าแก้ไขปัญหาได้ อย่างไรก็ตามไม่สามารถจะฝากความหวังไว้ที่กรมประมงเพียงหน่วยงานเดียว ต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น” อ่านต่อ https://localsthaipbs.net/blackchin_tilapia_nhrc

ทำความเข้าใจ ปลาหมอคางดำ เพิ่มเติม